วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กบฎสมัยร.5

รัชกาลที่ 5 ครองราชย์ 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453) พระชนมายุ 58 พรรษา
เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ
พระองค์ได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศนานัปการ ทรงบริหารประเทศก้าวหน้าทัดเทียมนานาอารยประเทศ ทรงประกาศเลิกทาส ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรม ปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ ส่งเสริมการศึกษาอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนทั่วไป ตั้งกระทรวงธรรมการ ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู ส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในยุโรป สร้างการรถไฟ โดยทรงเปิดเส้นทางเดินรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ถึงนครราชสีมา เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2421 สร้างโรงไฟฟ้า จัดให้มีการเดินรถรางขึ้นในกรุงเทพ ฯ จัดตั้งการ ไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ พ.ศ. 2421 สร้างระบบการประปา ฯลฯ
ด้านการต่างประเทศ ทรงมีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งนัก ได้ทรงนำประเทศไทยให้ รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตกได้ตลอดรอดฝั่ง โดยดำเนินวิเทโศบาย ผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจ พระองค์ได้เสร็จประพาสยุโรป ถึงสองครั้ง โดยได้เสร็จเยือนประเทศ ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมนี อังกฤษ ออสเตรีย ฮังการี เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน และเดนมาร์ก เมื่อ ปี พ.ศ. 2440 ทรงแต่งตั้งราชทูตไปประจำ ประเทศต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2424 ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ออสเตรีย ฮังการี เดนมาร์ก สวีเดน โปรตุเกส นอร์เว และ สเปน อังกฤษ ในปี พ.ศ. 2425 สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2427 รัสเซียในปี พ.ศ. 2440 และญี่ปุ่นใน ปี พ.ศ. 2442
พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้เป็นสุขร่มเย็นโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบความเป็นอยู่ที่แท้จริงของพสกนิกร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยะมหาราช
ด้านการพระศาสนา ทรงทำนุบำรุง และจัดการให้เหมาะสม เจริญรุ่งเรือง ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดมหาธาตุ และมหามงกุฎราชวิทยาลัยขึ้น ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อให้เป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรม และวิชาการชั้นสูง นอกจากนั้น ยังทรงสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และวัดเบญจมบพิตร ซึ่งนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามยิ่งแห่งหนึ่งของกรุงเทพ ฯ
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ (ร.ศ. ๑๑๒) ไทยเกิดกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนที่ฝั่งแม่น้ำโขงกับฝรั่งเศส ทำให้เกิดการสู้รบกันขึ้น ด้วยความห่วงใยทหารที่บาดเจ็บ สตรีไทยชั้นสูงในสมัยนั้น มีท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นหัวหน้า ได้คิดตั้งองค์การหนึ่งเพื่อช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากของทหาร ทำนองสภากาชาดของต่างประเทศ และได้นำความกราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ขอให้ทรงเป็นชนนีผู้บำรุงในการจัดตั้งองค์การนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบก็พอพระราชหฤทัยในความคิดอันเป็นการกุศลนี้ จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตั้งองค์การนี้ขึ้น โดยใช้นามว่า "สภาอุณาโลมแดง" สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถทรงเป็นสภานายิกาพระองค์แรก และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ เป็นเลขานุการินี งานสำคัญของสภาอณาโลมแดงคือ จัดส่งเครื่องยา อาหาร เสื้อผ้า และเครื่องใช้ต่าง ๆ ไปบำรุงทหารในสนามรบ
กิจการสภาอุณาโลมได้หยุดชะงักลงเมื่อการรบยุติ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงฟื้นฟูขึ้นอีกครั้งหนึ่งและได้เปลี่ยนชื่อเป็นสภากาชาดไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดการเสด็จประพาสเยี่ยมพสกนิกรในท้องถิ่นต่าง ๆ ตามต่างจังหวัด โดยไม่โปรดให้ตระเตรียมหมายกำหนดการ หรือจัดรับเสด็จอย่างเอิกเกริก ทรงปลอมแปลงพระองค์เป็นราษฎรสามัญชนเพื่อทอดพระเนตรสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการปฏิบิตงานของเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยพระเนตรพระกรรณของพระองค์เอง
กบฎผีบุญ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๔๔๔ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งอยู่ในมณฑลอีสาน
ผีบุญเป็นผู้ที่อ้างตนเป็นผู้วิเศษกลับชาติมาเกิด สามารถติดต่อผีสางเทวดาได้ รักษาโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดได้ และแสดงตนว่าอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลายจากอาวุธทุกชนิด ประพฤติตนถือศิล นุ่งขาวห่มขาว ได้ชักชวนชาวบ้านเป็นพรรคพวกจัดตั้งกองกำลังใหญ่ มีการฝึกอาวุธ ข่มขู่และฆ่าชาวบ้านที่ไม่ยอมเป็นพวกด้วย จึงสร้างความหวาดกลัวและเดือดร้อนให้แก่ประชาชน ทำให้ไม่เป็นอันทำมาหากิน
เมื่อทางราชกาส่วนกลางได้ทราบข่าว จึงส่งกองทัพหลวงไปสมทบกับทหารในมณฑลอีสานทำการปราบปรามจนสงบ
นอกจากกบฏผีบุญแล้ว ในสมัยนี้ยังมีกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ กบฏพระยาแขกเจ็ดหัวเมืองมลายู ซึ่งรัฐบาลสามารถปราบปรามได้สำเร็จ ทำให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น